พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า “การจะให้ของสิ่งใดแก่ผู้ที่เขาเต็มใจรับของสิ่งนั้นอยู่แล้ว ไม่ควรถามว่าอยากได้หรือไม่”

       ที่มาของสำนวนนี้ พระสงฆ์สมัยโบราณจะถือพระธรรมะวินัยเคร่งครัดมาก ว่าอย่ายึดติดกับรสชาติ เขาเลยห้ามถาม จึงได้นำมาตั้งเป็นสุภาษิต

       ในหลักการตักบาตรตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว พระพุทธเจ้าท่านให้หลักบริสุทธิ์สาม เอาไว้ คือ

                1. ไม่เห็นการฆ่า
                2. ไม่ได้ยินการฆ่า
                3. ไม่ได้นึกรังเกียจว่า เขาฆ่ามาเพื่อเฉพาะเจาะจงเรา

       ถ้าอย่างนี้ละก็รับประทานได้ไม่บาป ให้ถือบริสุทธิ์สามนะ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน แล้วไม่นึกรังเกียจว่า เขาฆ่ามาเฉพาะเรา ตรงนี้เองเป็นที่มาของคำว่า ตักบาตรอย่าถามพระ เช่นว่า จะตักบาตรแล้วถาม พระคุณเจ้า พรุ่งนี้จะฉันแกงไก่ไหม เดี๋ยวโยมจะเชือดถวาย ถ้าอย่างนี้ล่ะไม่ได้ พระท่านรับไม่ได้เลย ถ้านึกรังเกียจว่า ฆ่ามาเฉพาะเจาะจงเนี่ยไม่ได้ แต่ถ้าเกิดเป็นเนื้อที่เค้าวางขายในตลาดอยู่แล้วเราไปซื้อมาประกอบอาหารอย่างนี้ไม่บาป ถ้าจะเปรียบเหมือนกับว่า ถ้าเป็นอีแร้งเห็นซาก แล้วเอาไปกินซากไม่บาป แต่ถ้าเกิดเป็นอีกา ไปจิกไปยุให้มันตีกันให้มันตาย แล้วตัวเองก็จะไปกินเนี่ย อย่างนี้บาป

Contact Us


09.00 – 17.00
วันจันทร์ - วันศุกร์

WBGF © 2024. All Rights Reserved.